วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนวทางการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

การสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ตามรูปแบบการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้ คือ ระดับผู้ใช้ทั่วไป (Basic User) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกส์ (Graphic User) และผู้ใช้งานในระดับสูง (Advanced User) เราเองต้องรู้ระดับการใช้งานของเรา เพื่อสามารถกำหนดสเป็คเครื่องที่เหมาะสมได้ต่อไป
1)       สำหรับ ผู้ใช้มือใหม่ ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง จึงอาจทำให้เครื่องมีปัญหาได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นที่มีราคาแพง
2)       สำหรับผู้ใช้งานในออฟฟิศ จะคล้ายกับผู้ใช้มือใหม่ตรงที่ไม่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เน้นการทำงานเอกสารหรืออาจจะใช้ Photoshop แต่ง ภาพเล็กๆ น้อยๆ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะใกล้เคียงกับผู้ใช้มือใหม่ เพียงแต่ปรับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเพิ่มไดรว์ CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล
3)       สำ หรับนักศึกาามหาวิทยาลัย ผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาจะเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้นสามารถใช้งานโปรแกรม ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้ระดับนี้อาจจะประกอบเครื่องใช้เองได้ เพราะจะทำให้ตนเองมีความรู้มากขึ้น การใช้งานเน้นไปทางพิมพ์งานส่งอาจารย์
4)       สำหรับผู้ใช้งาน Windows Vista จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงในระดับหนึ่ง ด้วยการเป็นซีพียู Dual Core พร้อมแรม 1 GB ขึ้นไป ฮาร์ดิสก์ 250 GB หากตรงตามมาตรฐาน Window Vista Premium ต้องใช้ฮาร์ดิสก์แบบไฮบริดเท่านั้น ซึ่งในช่วงแรกฮาร์ดดิสก์แบบไฮบริดจะมีราคาแพงมาก
5)       สำหรับผู้ใช้งานระดับสูง หรือผู้ที่ชอบเล่นเกมส์จะต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูง การประกอบเครื่องเองจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
ดังนั้นก่อนอื่นควรศึกษาและสำรวจอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก่อนว่า แต่ละอย่างมีคุณสมบัติอย่างไร และราคาเท่าไร จากนั้นจึงหันกลับมาดูถึงความต้องการว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอะไร อย่างไร จากนั้นจึงเลือกสเป็คให้พอดีกับความต้องการ ส่วนเรื่องบริษัทที่ผลิต (ยี่ห้อ) และราคาจะเป็นปัจจัยในการเลือกรองลงมา
7.2 วีธีการกำหนดสเป็คของคอมพิวเตอร์ (Specification)
วิธีดูสเปคคอม วิธีที่ 1

186_131007182937w0
เป็นวิธี Basic ที่หลายคนคงรู้อยู่แล้วนันคือ คลิกขวาที่ My Computer จะแสดงสเปคพื้นฐาน และมีคะแนน Rating ความแรงของเครื่องจากวินโดว์ด้วย
186_13100718294154 186_13100718294261
ตรงนี้เราสามารถดูคะแนนในแต่ละจุดที่ทางวินโดว์ประเมินไว้ได้
7.3 ลักษณะการซื้อซีพียู
การ เลือกซื้อซีพียูต้องพิจารณาเรื่องความเร็ว ความเร็วขั้นต่ำแปรเปลี่ยนไปตามเวลา โดยปกติจะดูว่าซื้อเพื่ออะไร เช่นถ้าซื้อใช้งานเป็นเพียงอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ในห้องเรียนให้นิสิตใช้ เพื่อเป็นการเรียกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต สามารถใช้ซีพียูรุ่นต่ำที่มีขายในปัจจุบันราคาซีพียูในระดับต่ำนี้ การตัดสินใจจะเลือกซื้ออะไรมาใช้ คงต้องลองศึกษาจากหลายๆ องค์ประกอบ โดยเฉพาะการมองหารายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย รวมทั้งงบประมาณการลงทุนต่างๆ ที่มีอยู่ด้วย เทคนิคที่เกี่ยวกับซีพียูทั้งสองด้านนี้ สามารถหาได้ได้จากเว็บไซต์ของบริษัท คือwww.amd.com และ www.intel.com ผู้สนใจลองทำการศึกษาอย่างน้อยเป็นความรู้ที่จะมีประโยชน์ต่อไป
อันดับ แรกที่เราควรให้ความสำคัญ ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจำมาประกอบเอง หรือซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเซตก็ตาม คือการเลือกซีพียูนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นรุ่นและความเร็วของซีพียูตามระดับการใช้งานของเรา เพื่อเราจะได้ทราบรูปแบบอินเทอร์เฟส (Socket) สำหรับติดตั้งบนเมนบอร์ด เพื่อเลือกซื้อเมนบอร์ดที่ตรงกับรุ่นของซีพียูต่อไป
7.4 ตัวอย่างการดูสเป็กเครื่องจากใบโบรชัวร์สินค้า
spec-computers
จากในใบปลิวคอมพิวเตอร์เจ้าหนึ่งครับ เราลองมาไล่ดูทีละบรรทัดกันดีกว่า
1. Operating System หรือ ที่เรียกภาษาไทยว่า ระบบปฎิบัติการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ในชุดนี้เลือกใช้ Windows 7 Basic ซึ่งเป็น Windows เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดเลย หากคุณต้องการที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมาพร้อมระบบปฎิบัติการ windows ด้วย คุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 3,000 บาทขึ้นไปด้วยครับ
2. Processor หรือ ที่เรียกง่ายๆว่า ซีพียู (CPU) ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์ของคุณจะแรงหรือไม่แรง ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญครับ (แต่ราคาก็จะแปรผันไปกับความแรงด้วย)
3. Chipset อันนี้เป็นตัวที่ควบคุมการทำงานที่สำคัญของเมนบอร์ด (แต่บางที่ก็ไม่บอกรุ่นของ Chipset แต่บอกรุ่นของ Mainboard แทนครับ)
4. Memory หน่วย ความจำสำรอง หรือที่เราเรียกว่า แรม (Ram) นั่นแหละครับ มีเยอะยิ่งดี เริ่มต้นควรจะมีที่ 2GB (2048 MB) ครับ แม้ว่าตอนนี้ จะเริ่มมี DDR3 เข้ามา แต่ DDR2 ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ครับ
5. Harddisk เป็น ตัวเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของเรา ถ้าถามว่า ความจุสักเท่าไหร่ดี สำหรับผมๆ ว่า 320GB ตามสเปคคอมพิวเตอร์นี้ก็โอเคครับ แต่ถ้าได้ถึง 500 – 1000 GB เลยได้ก็ดีครับ เพราะราคาของ Harddisk ตอนนี้ก็ราคาไม่แพง และได้ความจุที่มากขึ้นเรื่อยๆ ครับ
6. Optical Drive เป็นอุปกรณ์สำหรับการเขียนซีดี หรือ ดีวีดี ซึ่งในปัจจุบันควรที่จะรองรับการเขียน DVD แบบ Double Layer (8.5GB) เป็นพื้นฐานนะครับ (ส่วน Blu-ray นั้น รออีกสักพักดีกว่าครับ)
7. Monitor อัน นี้เป็นจอภาพแสดงผลครับ ซึ่งปัจจุบันจอภาพแบบ LCD ก็มีราคาถูกพอๆ กับจอภาพ CRT แล้ว (บ้านผมเรียกว่า จอตูดใหญ่) ขนาดที่แนะนำก็คือ 19 นิ้ว + Wide Screen ครับ (เผื่อสำหรับการดูหนัง ฟังเพลง และทำงานครับ) ซึ่งในนี้จะเป็น 18.5 นิ้ว ผมว่ามันก็คือ 19 นิ้วนั่นแหละ
8. Graphics ซึ่ง เป็นอุปกรณ์ในส่วนของระบบการแสดงผลของภาพ หรือถ้าคนทั่วไปจะรู้จักกันในนามว่า “การ์ดจอ” (VGA Card) โดยจะมี 2 รูปแบบก็คือ แบบที่ติดมาพร้อมกับ Mainboard (On Board) และแบบที่เป็นอุปกรณ์แยกต่างหาก ( Graphics Card) โดยถ้าเป็นแบบ On Board นั้น จะเหมาะสมกับการใช้งานทั่วไป ไม่เหมาะกับการนำมาใช้เล่นเกมส์ ซึ่งจุดที่สังเกตได้ง่ายว่า คอมพิวเตอร์ในใบปลิวนั้น เป็นแบบ On board หรือไม่ ให้ดูว่ามีคำว่า “Integrated” หรือไม่ ถ้ามี เป็นแบบ On Board นะครับ
9. Connection ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งคอมพิวเตอร์รุ่นนี้จะมี Wireless Lan รวมอยู่ในระบบด้วยครับ
10. Audio ระบบเสียงที่ใช้ครับ คล้ายๆ กับระบบ Graphics ครับ คือ ถ้ามีคำว่า “Integrated” แสดงว่า เป็นระบ Audio On Board ครับ
11. I/O ports เป็นช่องสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ เช่น USB Port , Fire-Wire Port,ช่องสำหรับเสียบไมค์หรือลำโพง ครับ
12. Keyboard + Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ควรจะต้องมีอยู่แล้วครับ
13. Warranty การ รับประกันตัวเครื่อง แล้วแต่ละที่ครับ บางที่ก็ 1 ปี บางที่ก็ 3 ปี อย่าลืมดูด้วยนะครับ ถ้ามีคำว่า Onsite แสดงว่า เขามีบริการที่ซ่อมให้ถึงบ้านด้วยนะครับ
7.5 การตรวจสอบอุปกรณ์
1. สภาพของอุปกรณ์ : เป็นการตรวจสอบร่องรอยการนำเอาไปใช้ และดูว่าอุปกรณ์ที่ซื้อนั้นใหม่แกะกล่องรึไม่
2.ส่วนการรับประกัน : ปัจจุบันมีการใช้สติกเกอร์ (warranty sticker) เนื่องจากการรับประกันแบบนี้ จะเป็นเครื่องยืนยันว่าอุปกรณ์นั้นซื้อจากร้านของตนจริง
7.6 การเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซื้อ ซีพียู(CPU)
สำหรับการเลือกซื้อ ซีพียู  ซึ่งเป็นที่ที่สำคัญที่สุดซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเพราะซีพียูเป็นตัวที่จะกำหนดอุปกรณ์อื่นๆด้วย  และเป็นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์  การที่เครื่องเราจะแรงและเร็วแล้ว  ซีพียูเป็นตัวกำหนดหลักแทบทั้งสิ้น   เพราะฉะนั้นผมจึงขอให้กำหนด  สเป็กการซื้อคอมพิวเตอร์  จากตัวซีพียูก่อนะครับ  จะขอเรียงลำคับการพิจารณาการเลือกซื้อดั้งต่อไปนี้
1.ความเร็วของ ซีพียู
ความเร็วของซีพียู   ซึ่งใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดนะครับ  โดยมีหน่วยเป็น “เฮิรตซ์ (Hz)”  ก็คือการที่ซีพียูทำงาน 1 ครั้งต่อ 1 วินาทีนั้นเอง  แต่ในปัจจุบันซีพียูนั้นมีความเร็วมากอยู่ในระดับ “กิกะเฮิรตซ์ (GHz)” แล้ว  เช่น 1 กิกะเฮิรตซ์  คือซีพียูทำงานได้ถึง 1 พันล้านครั้ง  ต่อวินาที  ยิ่งมีค่าสัญญาณนาฬิกามากเท่าไหร่ก็สามารถทำงานได้รวดเร็วเท่านั้น เช่น AMD Phenom 9650 2.3GHz
2.หน่วยความจำแคช(Cache)
หน่วยความจำแคชก็เป็นหน่วยความจำหนึ่งที่ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ  เพราะแคชมีหน้าที่ในการจัดเก็บคำสั่งและข้อมูลที่ได้ใช้บ่อยๆ  เพื่อส่งไปยังซีพียู  ซึ่งแคชเองทำงานร่วมกับแรมเพื่อเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง 2 อุปกรณ์  ให้เชื่อมต่อกันเพราะฉะนั้นแล้วยิ่งมีแคชมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเร็วเท่านั้นด้วย
11-09-52 2-07-19
ในปัจจุบันเองได้มีการเพิ่มเทคโนโลยี Pre-Fetch ในบางรุ่นจะมี ที่มีแคชถึงระดับ L3 ทำหน้าที่ในการคอยอ่านข้อมูลจากแรมมายังแควตลอกเวลา  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น  โดยความเร็วทั้ง 3 ระดับดังนี้
แคชระดับที่ 1 (L1) เป็นแคชขนาดเล็ก  เป็นแคชที่มีขนาดเล็กที่สุด  อยู่แค่ 32-128 KB เท่านั้น  และอยู่ใกล้ชิดกับซีพียูมากที่สุด
แคชระดับที่ 2 (L2) จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาเพราะจะทำการเก็บข้อมูลจากแรมเป็นหลัก
แคชระดับที่ 3 (L3) อยู่คั่นกลางระหว่างแรมกับแคช L2 โดยจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อนซึ่งมีประมาณ 2-8 MB และจะอยู่ใกล้กับบัสเพื่อสามารถที่จะถ่ายโดยข้อมูลไปยังส่วนต่างๆได้ง่ายขึ้น
3.บัส(BUS)
ถือได้ว่ามีความสำคัญเหมือนกัน เพราะ บัสคือ นำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) ซึ่งมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz)  จะมีค่า FSB อย่างเช่น FSB 1066 เป็นต้น
4.ซีพียู จากค่ายต่างๆ
สำหรับซีพียูนี้ก็มี 2 ค่าย ใหญ่ที่ผลิตออกมาให้เราได้ใช้กันคือ Intel และ AMD
Intel เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด แล้วยังเป็นผู้ผลิต ซีพียูรายแรกอีกด้วย  สำหนับซีพียู  ที่ Intel ผลิตนั้นก็มีหลาย รุ่นออกมาให้เลือก และต่างมีเทคโนโลยีที่ต่างกัน
7.7 เลือกซื้อเมนบอร์ด
คนส่วนใหญ่ที่กำลังจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มักหาข้อมูลทำการบ้านแต่เฉพาะในส่วนหลักสองส่วนใหญ่ ก็คือ ซีพียู และ กราฟฟิคการ์ด ซึ่งก็จริงที่ทั้งสองส่วนนี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่ได้ฟังสเปกสองตัวนี้ถึงกับร้องอู้หู้เมื่อได้ยินว่าเราใช้ Intel® Core i7 940 หรือ ได้ยินว่าเราใช้กราฟฟิคการ์ด NVIDIA Geforce295GTX เพราะทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวที่ตอบสนองความแรงในการประมวลผลไม่ว่าด้านตัวเลข หรือ ภาพ 3D แต่เคยมีใครได้สังเกตไหมว่าจริงๆ แล้วเรายอมลดสเปกอุปกรณ์บางอย่างลงไปเพื่อให้ได้มาซึ่งซีพียูหรือกราฟฟิกการ์ดที่แรง แต่เรากลับไม่ได้สนใจว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อเพื่อใช้กับซีพียูและกราฟฟิกการ์ดนี้ มีประสิทธิภาพที่จะดึงความสามารถของซีพียู กราฟฟิกการ์ด และ ทนทานต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องของเราเพียงใด เทคโนโลยีที่ใช้เป็นอย่างไร มีซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัย และ ความสะดวกให้กับเราไหม เพราะตอนนี้ซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดอาจจะเป็นตัวตัดสินที่ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกใช้เมนบอร์ดด้วยส่วนหนึง เกริ่นมาซะเยอะแล้ว วันนี้ผมจะใคร่ขออาสานำความรู้ดีๆ ในการตัดสินใจเลือกซื้อเมนบอร์ดคุณภาพครับ ตามมาเลยครับ …..
Main Board หรือ Motherboard คือ แผงวงจรหลักทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ต่างๆ เพื่อทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานเข้ากันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพ
เมนบอร์ดในปัจจุบันที่เราพบเห็นในตลาดมีสองค่ายเท่านั้นเองครับ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่ามีแค่สองบริษัทที่ขายเมนบอร์ดไม่ใช่แบบนั้นครับ แต่หมายความว่ามีเมนบอร์ดที่ซัพพอร์ตซีพียูระหว่าง Intel® และ AMD เท่านั้นน่ะครับ แต่ผู้ผลิตเมนบอร์ดมีอยู่มากมายหลายบริษัทให้เราเลือกใช้ โดยแต่ละบริษัทก็มีจุดเด่น จุดด้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวสินค้าที่ออกมาว่าจะโดนใจใครหลายคนหรือเปล่า แต่อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นครับว่า ปัจจุบันการต่อสู้ทางการตลาดของสินค้าประเภทเมนบอร์ดไม่ได้วัดกันที่เฉพาะอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บนเมนบอร์ด หรือ แค่สเปกของเมนบอร์ดเท่านั้น แต่ยังต้องรวมถึงซอฟท์แวร์ยูทิลิตี้ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดด้วย ว่าสามารถทำประโยชน์ และเพิ่มความสามารถในการใช้งานเมนบอร์ดในด้านใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มความเร็วให้กับซีพียู, เพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพิ่มเติม คราวนี้ผมจะแยกส่วนสาระสำคัญของฮาร์ดแวร์ที่อยู่บนเมนบอร์ด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้อ่าน เพื่อที่จะตัดสินใจในการครอบครองเมนบอร์ดได้อย่างถูกต้อง และได้ใช้ประโยชน์สูงสุดครับ
img_news10020-1
7.8 เลือกซื้อแรม
สำหรับแรมผมได้กล่าวไว้แล้วว่ามีหน้าอะไรบ้าง  สำหรับแรมก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกันเพราะฉะนั้นแล้วเราควรเลือกให้ถูกวิธีด้วย  สำหรับขึ้นตอนการเลือกซื้อแรม  มีขั้นตอนการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
1.ประเภทของแรม
แน่นอนครับสำหรับประเภทของแรมนั้น  ก็จะถูกจำกัดด้วยเมนบอร์ดที่เราจะเลือกซื้อเช่นกัน  โดยเมนบอร์ดก็จะต้องถูกบังคับจากซิปเซต  สำหรับคนที่จะซื้อในขนาดนี้จะมีอยู่ 2 ประเภทที่ผมจะแนะนำนะครับ ซึ่งทั้ง 2 มีความเร็วที่แต่ต่างกัน
1.1 DDR 2
สำหรับ DDR 2 นั้นมีความนิยมเป็นอย่างยิ่งในขนาดนี้ถือเป็นแรมตลาดเลยที่เดียว  เพราะในปัจจุบันนี้เมนบอร์ดเองก็สามารถรองรับการทำงานของแรมชนิดนี้ได้หมดแล้ว  แล้วราคาในขณะนี้ก็มีราคาที่ไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ  และในเรื่องของความเร็วก็สามารถใช้ได้เร็วมากเลยที่เดียว  มีความเร็วตั้งแต่ 400-1,066 MIz ใช้แรงดันไฟฟ้า 1.8 V
1.2  DDR3
เป็นแรมประเภทมี่พึ่งมาใหม่ล่าสุดเลย  ซึ่งมีความเร็วสูงสุด  ถึง 1,600-2,000 MHz เลยทีเดียวครับ  แล้วใช้แรงดันไฟฟ้าแค่เพียง 1.5 V เท่านั้น  ถือได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าทุกประเภทแต่ปัจจุบันนี้ได้มี DDR4 มาแล้วเอาไว้คราวหน้าตอนที่มีคนใช้เยอะๆ  จะมาเล่าให้ฟังนะครับ ส่วนราคาตอนนี้ยังสูงอยู่  แต่ถ้าใครต้องการซื้อหรือมีตังพอไม่ขัด ครับ  เพราะว่ากำลังจะเป็นที่นิยมกันแล้ว  แต่ต้องดูด้วยว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับหรือไม่  เพราะว่ายังมีเมนบอร์ดที่ยังไม่รองรับอีกเยอะครับ  ที่สำคัญ DDR3กับ DDR2 ใช้สล็อตเดียวกันไม่ได้เพราะฉะนั้นแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะใส่ผิด
ddr3-vs-ddr2-ram
2.หน่วยความจำ
แรมนั้นมีหน่วยความจำหลัก  ที่จำเป็นต้องการความจำสูงเพื่อประสิทธิภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย  โดยหน่วยความจำของแรมนั้น มีหน่วยเป็น GHz  ยิ่งมีความจำมากก็ทำให้เครื่องเราเร็วขึ้นไปด้วย ราคมของแรมที่มีความจุสูงๆ เดี่ยวนี้ราคาไม่แพงมากนัก  แต่ก็ควรที่จะดูว่าขนาดไหนเหมาะกับเรา  เพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองมากกว่าปกติ
3.ความเร็ว
ความเร็วหรือว่า บัสของแรมนั้นก็มีความสำคัญเพาะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายโดนข้อมูลได้เราขึ้น ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้ว่าประเภทของแรมนั้นก็มีความเร็วที่แตกต่างกัน  แล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดเราอีกนั้นล่ะว่าจะรองรับได้มากแค่ไหน  หรือถ้าใครซื้อแรมชนิดไหนก็ได้ที่มีความเร็วสูงไปที่เมนบอร์ดจะรองรับก็สามารถจะใส่ได้เมื่อซื้อแรมที่เป็นประเภทเดียวกันเท่านั้นแต่ความเร็วของแรมก็เท่ากับ  เมนบอร์ดรองรับ  และใครที่ซื้อแรมมา 2 ตัวแต่ มีความเร็วเท่ากัน  มันก็จะใช้แรมที่มีความเร็วต่ำกว่านั้นเอง
4.ก็การเลือกยี่ห้อ
การเลือกยี่ห้อนั้นแล้วแต่ศรัทธาครับ  ไม่ว่ากันแต่จะมีการรับประกันที่แต่ต่างกันนิดหน่อยเท่านั้นเองครับ  อย่างเช่นการเครมที่ไหม้ได้ไม่ได้  รวมทั้งราคาของแรมด้วยประสิทธิภาพจะแตกต่างกันหรือไม่นั้นส่วนตัวผมเอง  ใช่มาหลายยี่ห้อแล้วไม่ต่างกันเลย  เพราะฉะนั้นอยากได้ยี่ห้อไหนรับประกันดีเป็นพอครับ  อันนี้ไม่เกี่ยวกับหน้าตาคนขายนะครับ
7.9 เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
สำหรับฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก  เพราะฉะนั้นแล้วจึงมีการเลือกซื้อให้เหาะสมกับความต้องการของเรา  ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ได้มีราคาต่อความจุถูกมาก  และมีความเร็วที่แตกต่างกัน  จะข้อแนะนำการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
1.ประเภทของ ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ๆ กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน  คือ  (สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อภายนอกจะขอกล่าวในลำดันถัดไป)
– แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่จะบอกว่ารุ่นเก่าแล้วก็ว่าได้  เพราะว่ามีรุ่นใหม่ที่เร็วกว่าประหยัดทั้งพื้นที่ประทั้งพลังงานได้ดีกว่า  และเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะราคาแพงกว่า SATA ด้วยซ้ำ
– แบบ SATA เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามนตอนนี้และได้มีความนิยมเป็นอย่างมาก  เพราะว่าในเมนบอร์ดรุ่นใหม่นั้นก็ลองรับได้หมดแล้ว  และมีราคาที่ถูกกว่า ฮาร์ดดิสก์ แบบSATA
sata-ide_lg

2.ขนาดของความจุ
ความจุของฮาร์ดดิสก์หรือพื้นจัดเก็บข้อมูล  นั้นมีความสำคัญว่าเราจะใช้งานประเภทใดและต้อง  เลือกความจุขนาดใดใครที่ชอบทำงานด้านมัลติมีเดียก็ต้องเลือกความจุมากๆ ปัจจุบันนี้มีความจุ ถึง 2 GB ไปแล้วซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจนลืมไปเลยว่าซื้อมาตอนไหน  ไม่รู้จักเต็มสักที  แต่ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่นั้นเอง
3.ความเร็วรอบ
ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นย่อมมีผลโดยตรงต่อความเร็วของฮาร์ดดิสก์  คือถ้าฮาร์ดดิสก์มีความเร็วรอบสูงแล้ว  ข้อมูลก็จะเคลื่อนมาถึงหัวอ่านได้อย่างรวดเร็วขึ้น  ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นมีหน่วยเป็น “รอบต่อนาที (rpm)  ในปัจุจบันความเร็วรอบนั้น 5,400-7,200 rpm แล้ว  และยังมีการพัฒนาความเร็วได้ถึง 10,000 rpm
4.บัฟเฟอร์ของ ฮาร์ดดิสก์
บัฟเฟอร์ก็คือหน่วยความจำแคชของฮาร์ดดิสก์นั้นเองครับ  เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเร็วและประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์   ถ้าเกิดฮาร์ดดิสก์ไหนที่มีขนาดบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาที่จะกลับไปนำข้อมูลนั้นมาใช้ซ้ำอีก  โดยการทำงานนั้นจะทำงานรวมกับแรม  แรมจะนำข้อมูลจากบัฟเฟอร์มาใช้โดยตรง  ในปัจจุบันแล้วขนาดบัฟเฟอร์  ก็มีจำนวน 8-32 MB ไปแล้ว
5.ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล
ช่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Seek Time) คือช่วงเวลาที่ตำแหน่องบนจานของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนมาพอดีกับตรงที่หัวอ่านพอดี  ความเร็วนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์เอง  ยิ่งมีความเร็วที่น้อยก็สามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์นั้นอ่านเขียนได้เร็วขึ้น
มารู้จักเทคโนโลยีไฮบริด (Hybrid)
ฮาร์ดดิสก์แบบนั้นคือเป็นเทคโนโลยีที่นำหน่วยความจำมาเป็นแฟลช  มาทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์โดยลักษณะจะเหมือนการทำงานของแฟลชไดร์  โดยหน่วยความจำที่นำมาใช้นั้นจะช่วยเพิ่มที่จะช่วยโหลดไฟล์ที่ใช้งานบ่อยๆ  หรือเก็บมาไว้ใช้ชั่วคราว  ก็ช่วยเพิ่มทั้งความปลอดภัยและความรวดเร็วของของมูล
7.10เลือกซื้อการ์ดแสดงผล
1. ตรวจสอบชนิดการเชื่อมต่อการจอภาพที่คุณต้องการ รูปแบบการเชื่อมต่อที่เมนบอร์ดรองรับ หรือหากซื้อเมนบอร์ดแล้วให้พิจารณาว่าจะใช้การ์ดแสดงผลที่เชื่อมต่อในรูปแบบใด หรืออาจจะพิจารณาเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อ จากนั้นจึงซื้อเมนบอร์ด และซีพียูก็ได้
2. ตรวจสอบการเข้ากันได้ของการ์ดแสดงผล โดยการ์ดแสดงผลจะมี AGP2x/4x/8x นอกจากนี้ยังมีแรงดันไฟที่ต่างกัน เช่น 3.3 โวลต์อีกด้วย
3. พิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้เมนบอร์ดที่รองรับการ์ดแสดงผลแบบใด แล้วจึงเลือกการ์ดแสดงผลที่ต้องการ หรือหากต้องการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่ก็ต้องเลือกตั้งแต่เมนบอร์ดเลยทีเดียว
4. ตรวจสอบให้ดีว่าโปรแกรมหรือเกมที่คุณใช้นั้น รองรับเทคโนโลยีใดบ้าง แล้วจึงเลือกให้เหมาะสมกับงานที่เราใช้จริง
คุณสมบัติต่าง ๆ ที่เราควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผลในปัจจุบัน จะใช้มาตรฐาน PCI Express ส่วนรุ่นเก่าจะใช้มาตรฐาน AGP ซึ่งมีอยู่ 3มาตรฐานด้วยกัน คือ AGP 2X, AGP 4X, และ AGP 8x  ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 133 MHz, 266MHz และ 533 MHz ตามลำดับ    เราจำเป็นต้องเลือกการ์ดที่สนับสนุนการทำงานร่วมกับเมนบอร์ดด้วย   เพราะหากซื้อการ์ดที่ทำงานด้วยความเร็วสูงกว่า    ก็ไม่สามารถทำ
งานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ดีนั่นเอง
ชนิดของแรมบนการ์ด
แรมที่มีการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลนั้น   ป้จจุบันนิยมใช้อยู่  3   แบบคือ DDR-SDRAM, DDR2 และ DDR3 และมาตรฐานในปัจจุบันคือ DDR2 และ DDR3
ขนาดแรมบนการ์ด
นอกจากประเภทของแรมแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องดูก็คือขนาดความจุของแรมที่ใช้ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเร็วในการทำงานของการ์ดแสดงผลด้วย    ยิ่งแรมมากเท่าไร  ก็จะช่วยให้เราสามารถปรับความคมชัดของสี/ค่าความลึกของสีได้มากขึ้น (ปัจจุบันอยู่ที่ 128 MB หรือสูงกว่า
7.11 เลือกซื้อจอแสดงผล
จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสงเป็นภาพบน จอภาพ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.จอภาพ CRT
images-124
คือ จอภาพที่รับสัญญาณภาพแบบอะนะล็อก พัฒนามาจากหลอดภาพโทรทัศน์ด้วยการใช้หลอดภาพในการแสดงผลเช่นเดียวกันคะ จอซีอาร์ที จะทำงานโดยอาศัยหลอดภาพที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ซึ่งมีสารประกอบของฟอสฟอรัสฉาบอยู่ที่ผิว เมื่อถูกแสงอิเล็กตรอนมากระทบ  สารเหล่านี้เจะกิดการเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง
2. จอภาพ LCD
download4
จอภาพ LCD คือ จอแสดงผลแบบ (Digital ) ที่ใช้วัตถุที่เป็นผลึกเหลว (liquid crystal) แทนการใช้หลอดภาพในจอซีอาร์ที และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการผลิตแสงสว่าง จึงทำให้จอภาพแอลซีดีใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าจอแบบซีอาร์ทีประมาณหนึ่งในสามโดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น
3. จอภาพ LED
download-12
จอภาพ LED ใช้หลอดแอลอีดีมาเรียงกันบนพาแนลแล้วทำให้เกิดภาพด้วยการติด ดับของหลอดแอลอีดีซึ่งก็ได้ภาพที่ตาเรามองออกมา ซึ่งในเหล่านี้มันยังมีราคาสูงมากๆ
ความเหมาะสมกับการใช้งาน
1. งานเอกสาร หรือ ในสำนักงาน ควรเลือกจอภาพ ขนาด 17-19 นิ้วเพื่อถนอมสายตา
2. งานกราฟฟิก ควรเลือกจอภาพ ขนาด 19-21 นิ้ว
3. งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ ควรเลือกจอภาพ ขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว
4. ใช้งานทั่วไป 14-15 นิ้ว
หลักการเลือกซื้อจอภาพคอมพิวเตอร์
1. ควรเลือกจอภาพขนาด 15 นิ้วขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะปัจจุบันจอภาพ 15 นิ้ว มีราคาสูงกว่าจอภาพขนาด 14 นิ้วเล็กน้อยเท่านั้น
2. ควรเลือกจอภาพที่มีค่าระยะด็อตพิชต์ต่ำๆ เพราะจะทำให้ภาพออกมาคมชัด
3. เลือกจอภาพที่สามารถเลือกความละเอียดได้หลายโหมด
4. ควรเลือกแบบจอแบน เพราะจอแบนจะมีคุณสมบัติในการหักเหของแสงสะท้อนที่ตกกระทบบนจอภาพออกไปในทิศทางที่หลบออกจากสายตาผู้ใช้
5. ตรวจดูปุ่มรับการควบคุมจอภาพต่างๆ ว่าสามารถปรับอะไรได้บ้าง ใช้งานง่ายและสะดวกหรือไม่
6. จอภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ ADI, CTX, LG, MAG, Panasonic,  Philips,  SONY,  Sumsung, Viewsonic เป็นต้น
7.12 การเลือกซื้อไดรว์ดีวีดีอาร์ดับบริว (DVD-RW Drive)
ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ (DVD-RW Drive) มีลักษณะคล้ายก ับซีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ คือสามารถอ่านและเขียน
แผ่นดีวีดีแบบพิเศษ คือแผ่น DVD-R และแผ่น DVD-RW ได้
ปัจจุบันผู้ผลิตหลายๆ ราย นิยมติดต้งัไดร์ฟชนิดน้ีมาก เพื่อ
ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องท างานก ับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ข้ึน และ
ที่ส าคัญราคาไดร์ฟประเภทน้ีมีราคาลดต ่าลงมาก( ประมาณ 1,000-2,000 บาท)
ซึ่งกลายมาเป็ นมาตรฐานของไดร์ฟบนเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
7.13 เลือกซื้อเครื่องพิมพ์
1. เลือกชนิดของ printer ให้ถูกต้องตามประเภทของการใช้งาน
ก่อนที่เราจะเลือกซื้อ ควรจะทราบเสียก่อนว่าต้องการนำไปใช้งานแบบใดเป็นหลักหรือต้องการฟังก์ชันใดๆ บ้าง  เช่น  นำไปพิมพ์เอกสารทั่วๆ ไป,  พิมพ์ภาพถ่าย,  การพิมพ์พร้อมทำสำเนา  หรือต้องการใช้งานที่หลากหลาย  หรือพิมพ์งานที่ต้องการความคมชัดมากๆ ซี่งประเภทของ printer นั้นมีมากมายหลายแบบมาก (ส่วนรายละเอียดของชนิด printer แบบต่างๆ สามารถอ่านได้ในเนื้อหาบทความถัดไปครับ)
2. สำรวจงบประมาณที่ต้องการซื้อ ที่คุ้มค่ากับการใช้งาน
หากคุณผู้อ่านมีงบประมาณที่จะซื้ออยู่แล้ว  ก็สามารถคำนวณได้ว่าจะซื้อ printer รุ่นใดได้บ้าง  และมีฟังก์ชันที่เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่  ซึ่งหากตัดฟังก์ชันบางอย่างหรือคุณสมบัติที่ไม่ต้องการออกไป  ก็จะทำให้สามารถลดงบประมาณในการซื้อลงได้
3. เปรียบเทียบคุณสมบัติของเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่น
เมื่อเลือกชนิดของ printer ได้ และทราบงบประมาณแล้ว  เราก็ควรพิจารณาคุณสมบัติหรือ spec ต่างๆ ของ printer แต่ละรุ่น  เพื่อเปรียบเทียบกันว่าควรจะซื้อรุ่นไหนดี  โดยหัวข้อสำคัญที่เราควรจะทราบหลายๆ อย่างเช่น
– ความละเอียด (Resolution) ว่า printer เครื่องนี้พิมพ์ได้ละเอียดแค่ไหน  (หน่วยเป็น dpi)  ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว  printer ในปัจจุบันก็พิมพ์งานได้ละเอียดมากพออยู่แล้วครับ  คุณภาพการพิมพ์มักจะขึ้นอยู่กับการปรับตั้งค่า และกระดาษที่ใช้มากกว่า
– ขนาดของหยดหมึก หน่วยเป็น pl
– ความเร็วในการพิมพ์ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน หากพิมพ์งานสีหรืองานขาว-ดำ,  หากเราต้องการพิมพ์งานทีละมากๆ หรือใช้ในออฟฟิส  ก็ควรใช้เครื่อง printer ที่มีความเร็วสูงขึ้น
– ขนาดกระดาษที่รองรับ  (เล็กสุด-ใหญ่สุด) พิมพ์กระดาษได้หนาแค่ไหน, พิมพ์ไร้ขอบได้หรือไม่,  รองรับการพิมพ์ 2 ด้านหรือไม่,  ถาดป้อนกระดาษป้อนได้สูงสุดแค่ไหน
– หมึกพิมพ์ที่ใช้  ใช้หมึกพิมพ์แบบแยกสี หรือรวมเป็นตลับเดียว   ซึ่งหากใช้หมึกพิมพ์แบบแยกเป็นแต่ละสีจะประหยัดกว่า  เนื่องจากจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนทั้งตลับกรณีหมึกหมด  และโดยปกติแล้ว หมึกพิมพ์ของ printer แต่ละรุ่น  มักจะราคาไม่เท่ากัน  (ไม่แนะนำให้ซื้อ printer ที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียวครับ  เพราะหมึกพิมพ์มักมีราคาแพง ทำให้ไม่คุ้มค่าในระยะยาว)
– การเชื่อมต่อ, การสั่งพิมพ์   ซึ่ง printer รุ่นใหม่ๆ บางรุ่นใช้เป็น wireless แล้ว  และสามารถสั่งพิมพ์ได้ง่ายๆ จากกล้องหรือมือถือได้อีกด้วย
– ฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ ที่น่าสนใจ  เช่น  มี scan และถ่ายเอกสารในตัว,  สามารถรับ-ส่ง แฟ็กซ์ได้
– เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามา  เช่น  บางยี่ห้อมีเทคโนโลยีของหมึกพิมพ์โดยเฉพาะซึ่งช่วยให้การพิมพ์ภาพสีมีความคมชัดและสดใสมากยิ่งขึ้น
4. พิจารณาผู้ขาย หรือตัวแทนขายที่น่าเชื่อถือ
ปัจจุบันนี้มีช่องทางและวิธีการสั่งซื้อมากมาย  ทั้งการไปเดินเลือกซื้ัอเอง ซื้อสินค้าผ่านทางโทรศัพท์  หรือที่ง่ายมากๆ ในปัจจุบัน  สามารถแค่คลิกสั่งซื้อผ่านหน้าจอได้เลย   ซึ่งการที่จะเลือกซื้อจากผู้ขายแต่ละวิธี  ก็ขึั้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคล   แต่สิ่งสำคัญคือควรเลือกผู้ขายที่น่าเชื่อถือ  ให้ข้อมูลละเอียดและถูกต้อง  รวมถึงมีช่องทางการชำระเงินที่ปลอดภัย
โดยหากเป็นการสั่งสินค้าออนไลน์นั้นในปัจจุบันนี้ก็ถือว่ามีความสะดวกเป็นอย่างมาก  เราสามารถสั่งซื้อผ่านหน้าจอคอมฯ  และรอรับสินค้าที่บ้านในวันถัดไปได้เลย  ซึ่งถือว่ามีความสะดวกมาก โดยในการสั่งซื้อออนไลน์นั้น  สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก็คือ  ผู้ขายมีเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือและมีช่องทางการติดต่อได้จริง   รวมทั้งจะต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว  ซึ่งจะทำให้เรามั่นใจว่าจะไม่ถูกโกงอย่างแน่นอน
5. การรับประกันและการบริการหลังการขาย
ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อและจ่ายเงินนั้น  ควรตรวจสอบดูให้ดีว่า printer ที่เราซื้อมานั้นมีการรับประกันหรือไม่อย่างไรบ้าง  เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลังหากเกิดปัญหาขึ้น   หรือมีการบริการอื่นๆ อีกหรือไม่  เช่น  จัดส่งฟรีถึงบ้าน,  สามารถออกใบกำกับภาษีให้สำหรับลูกค้าที่เป็นองค์กรหรือบริษัทด้วย,  มีช่องทางการติดต่อกรณีมีปัญหาที่สะดวกสบาย  เช่น  มี call center  หรือมีอีเมล์สำหรับรับแจ้งปัญหาต่างๆ

พรบ.คอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. ๒๕๕๐                       
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒[๑]  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓  ในพระราชบัญญัตินี้ระบบคอมพิวเตอร์ หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้นผู้ให้บริการ หมายความว่า(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นผู้ใช้บริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตามพนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์                       
มาตรา ๕  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖  ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘  ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙  ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐  ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ...